อำนาจหน้าที่

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2529 คณะเทคโนโลยีได้รับการจัดตั้งเป็นหน่วยงานระดับคณะ ซึ่งปรากฏในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 103 ตอนที่ 139  ประกอบด้วยสาขาวิชาที่ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต 4 สาขาวิชา คือ เทคโนโลยีการอาหารและโภชนาการ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์

ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคามได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคามตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2537 โดยมี คณะเทคโนโลยีเป็น 1 ใน 4 คณะในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งส่วนราชการเป็น 3 ภาควิชาซึ่ง ประกอบด้วย ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร แบ่งการบริหารจัดการเป็น 5 สาขาวิชา คือ เทคโนโลยีการอาหารและโภชนาการ เทคโนโลยีชีวภาพ  เทคโนโลยีการผลิตพืช  เทคโนโลยีการผลิตสัตว์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ซึ่งรับผิดชอบในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีจำนวน 5 หลักสูตร

ในปีการศึกษา 2545 ได้เริ่มการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา โดยเปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพเป็นหลักสูตรแรกและในวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้ย้ายไปสังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ในปีงบประมาณ 2550 สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ได้แยกออกจากคณะเทคโนโลยีไปสังกัดคณะสัตวแพทย์และสัตวศาสตร์ในชื่อสาขาวิชาสัตวศาสตร์

ในปีงบประมาณ 2552 มีการย้ายคณะเทคโนโลยีจากเขตพื้นที่ในเมือง มายัง เขตพื้นที่ขามเรียง

ในปีงบประมาณ 2555 สาขาวิชาสัตวศาสตร์และสาขาวิชาประมงได้ย้ายมาสังกัดคณะเทคโนโลยี

ปัจจุบันคณะเทคโนโลยีมีการแบ่งหน่วยงานออกเป็น 3 ภาควิชา คือภาควิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  และภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร ได้ดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรทั้งหมด 13 หลักสูตรโดยมีพันธกิจ(Mission) ดังนี้

  1. 1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมีคุณภาพตามมาตรฐานที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและสากล และเป็นผู้ประกอบการ
  2. 2. ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ สามารถนาไปประยุกต์ใช้
  3. 3. ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งและพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน
  4. 4. อนุรักษ์ ปกป้อง เผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

5.บริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้หลักธรรมมาภิบาล

วิสัยทัศน์

“เป็นคณะชั้นนำ (1 ใน 10) ด้านเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ”

ปรัชญา

“ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน”

พันธกิจ

  1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมีคุณภาพตามมาตรฐานที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและสากล และเป็นผู้ประกอบการ
  2. ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้
  3. ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งและพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน
  4. อนุรักษ์ ปกป้อง เผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  5. บริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้หลักธรรมมาภิบาล

ค่านิยมองค์กร/วัฒนธรรมองค์กร (Core Value)

S3

  • S = Synergy = รวมพลังกันทำงาน หมายถึง ร่วมแรงร่วมใจทำงานเป็นทีม (Teamwork) อย่างสร้างสรรค์ (innovation) อย่างมืออาชีพ (Professional) และมุ่งมั่นให้บรรลุผลสำเร็จ (Achievement)
  • S = strategic work system = การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ หมายถึง การทำงานตามแผนกลยุทธ์อย่างเป็นระบบ
  • S = Social Responsibility = สร้างสรรค์สังคมให้ยั่งยืน หมายถึง นำผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการต่าง ๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนอย่างจริงจัง

สมรรถนะหลัก (Competency)

ถ่ายทอดองค์ความรู้/เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

เอกลักษณ์ คณะเทคโนโลยี

“การเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชนด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร”

อัตลักษณ์ นิสิตคณะเทคโนโลยี

“นิสิตกับการช่วยเหลือสังคมและชุมชน”

ยุทธศาสตร์ (Strategy)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพภายใต้การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรที่ทันสมัยตามเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานของชาติ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนานวัตกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่ม และได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้และบริการวิชาการแก่สังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริม ทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารองค์กรเพื่อความเป็นเลิศ

นโยบาย/เป้าหมายการพัฒนาหน่วยงาน

  1. หลักสูตรทันสมัยตอบสนองความต้องการของตลาด มีการบูรณาการศาสตร์ และได้รับการับรองตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่ชาติ
  2. ผลิตบัณฑิตเป็นบัณฑิตพันธุ์ใหม่ที่มีทักษะทั้ง Hard skill และ Soft skill ตอบสนองความต้องการของตลาดและสังคมโลก
  3. ทุกหลักสูตรมีเครือข่ายความร่วมมือด้านการเรียน การสอน การวิจัย กับสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
  4. บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาต้องมีอัตราการได้งานทำของบัณฑิตเพิ่มขึ้น และมีความสามารถเป็นผู้ประกอบการ
  5. บุคลากรได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมด้านการวิจัยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้คณะฯได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยและมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ระดับนานาชาติที่มาตรฐานและปรากฏในฐานข้อมูล ISI และ Scopus เพิ่มมากขึ้น
  6. คณะมีผลงานวิจัยที่นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน สังคม และประเทศ
  7. คณะมีอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น
  8. พัฒนาพื้นที่และทรัพยากรที่มีอยู่ในคณะฯ เป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกทักษะปฏิบัติ แหล่งวิจัย ของคณาจารย์ นิสิต เป็นแหล่งบริการวิชาแก่เกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม และสร้างผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยและบริการวิขาการ เพื่อสร้างรายได้ให้คณะฯ
  9. พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการเป็นองค์กรเพื่อความเป็นเลิศ
  10. บุคลากรของคณะมีความสุขในการปฏิบัติงานและนิสิตมีความสุขในการศึกษา ภายใต้หลักธรรมาภิบาล
Translate »