หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพและธุรกิจชีวภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพและธุรกิจชีวภาพ
ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Biotechnology and Biobusiness

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพและธุรกิจชีวภาพ)
(ชื่อย่อ) วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพและธุรกิจชีวภาพ)
ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม)Master of Science (Biotechnology and Biobusiness)
(ชื่อย่อ) M.Sc. (Biotechnology and Biobusiness)

โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชาและกลุ่มวิชา หลักสูตรที่เสนอ
แผน ก แบบ ก 1 แผน ก แบบ ก2 แผน ข
1. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า      
1.1 วิชาบังคับ 12 12
1.2 วิชาเลือก 6 18
2.หมวดวิชาประสบการณ์วิจัย      
2.1 วิทยานิพนธ์ 36 18
2.2 การศึกษาค้นคว้าอิสระ 6
รวมหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 36 36 36
คุณสมบัติผู้สมัคร

1. แผน ก แบบ ก 1
มีคุณสมบัติ ดังนี้
มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์อย่างน้อยในฐาน TCI ขึ้นไป อย่างน้อย 1 เรื่อง โดยไม่จำเป็นต้องเป็นนักวิจัยหลัก (Corresponding author) หรือชื่อแรก (First author)
สำเร็จปริญญาตรี สาขาวิชาใดก็ได้ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25
– กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาใดก็ได้ โดยศึกษาในภาคการศึกษาสุดท้ายมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.25 และคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนเปิดภาคการศึกษาของระดับมหาบัณฑิต
– ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่ระบุดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้าศึกษาได้ ทั้งนี้ ขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
และธุรกิจชีวภาพ
2. แผน ก แบบ ก 2
สำเร็จปริญญาตรี สาขาวิชาใดก็ได้ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
– กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาใดก็ได้ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง โดยศึกษาในภาคการศึกษาสุดท้าย มีผลการเรียนไม่ต่ ากว่า 2.50 และคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนเปิดภาคการศึกษาของระดับมหาบัณฑิต
– ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่ระบุดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้าศึกษาได้ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพและธุรกิจชีวภาพ

แผน ข
สำเร็จปริญญาตรี สาขาวิชาใดก็ได้ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรองโดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
– กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาใดก็ได้ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง โดยศึกษาในภาคการศึกษาสุดท้าย มีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.50 และคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนเปิดภาคการศึกษาของระดับมหาบัณฑิต
– มีประสบการณ์การทำงานฝ่าย Research and Development, Quality Control, Quality Analysis ในภาคเอกชนมาอย่างน้อย 2 ปี โดยมีหนังสือรับรองจากหัวหน้างาน
– ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่ระบุดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้าศึกษาได้ ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพและธุรกิจชีวภาพ

ดาวน์โหลดเล่มหลักสูตร
รายละเอียดเพิ่มเติม

Translate »