เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2529 คณะเทคโนโลยีได้รับการจัดตั้งเป็นหน่วยงานระดับคณะ ซึ่งปรากฏในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 103 ตอนที่ 139 ประกอบด้วยสาขาวิชาที่ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต 4 สาขาวิชา คือ เทคโนโลยีการอาหารและโภชนาการ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคามได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคามตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2537 โดยมี คณะเทคโนโลยีเป็น 1 ใน 4 คณะในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งส่วนราชการเป็น 3 ภาควิชาซึ่ง ประกอบด้วย ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร แบ่งการบริหารจัดการเป็น 5 สาขาวิชา คือ เทคโนโลยีการอาหารและโภชนาการ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการผลิตสัตว์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ซึ่งรับผิดชอบในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีจำนวน 5 หลักสูตร
ในปีการศึกษา 2545 ได้เริ่มการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา โดยเปิดสอนหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพเป็นหลักสูตรแรกและในวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้ย้ายไปสังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
ในปีงบประมาณ 2550 สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ได้แยกออกจากคณะเทคโนโลยีไปสังกัดคณะสัตวแพทย์และสัตวศาสตร์ในชื่อสาขาวิชาสัตวศาสตร์
ในปีงบประมาณ 2552 มีการย้ายคณะเทคโนโลยีจากเขตพื้นที่ในเมือง มายัง เขตพื้นที่ขามเรียง
ในปีงบประมาณ 2555 สาขาวิชาสัตวศาสตร์และสาขาวิชาประมงได้ย้ายมาสังกัดคณะเทคโนโลยี
ปัจจุบันคณะเทคโนโลยีมีการแบ่งหน่วยงานออกเป็น 3 ภาควิชา คือภาควิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร ได้ดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรทั้งหมด 13 หลักสูตรโดยมีพันธกิจ(Mission) ดังนี้
5.บริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้หลักธรรมมาภิบาล
“เป็นคณะชั้นนำ (1 ใน 10) ด้านเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ”
“ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน”
S3
ถ่ายทอดองค์ความรู้/เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
“การเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชนด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร”
“นิสิตกับการช่วยเหลือสังคมและชุมชน”
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพภายใต้การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรที่ทันสมัยตามเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานของชาติ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนานวัตกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่ม และได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้และบริการวิชาการแก่สังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริม ทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารองค์กรเพื่อความเป็นเลิศ