โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้จุลินทรีย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ตอบโจทย์ SDGs  เป้าหมายที่ 2 ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน (Zero
Hunger)
ข้อย่อย: 2.5  National Hunger : ความหิวโหยของชาติ
ตัวชี้วัด 2.5.2 Events for local farmers and food producers: Provide events for local farmers and food
producers to connect and transfer knowledge.
กิจกรรมสำหรับเกษตรกรและผู้ผลิตอาหารในท้องถิ่น : จัดกิจกรรมให้เกษตรกรและผู้ผลิตอาหารในท้องถิ่น
เพื่อการเชื่อมโยงและถ่ายทอดความรู้

โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้จุลินทรีย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีวัตถุประสงค์ในการถ่ายทอดความรู้ 2
เรื่อง
คือ 1) การเพาะกบด้วยการฉีดฮอร์โมน และ 2)เทคโนโลยีการใช้จุลินทรีย์ในการเพาะเลี้ยงกบให้แก่กลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหนองแต้ ต.แกดำ อ. แกดำ จ.มหาสารคาม

โดยข้อมูลพื้นฐานทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของกลุ่มดังกล่าว
ส่วนใหญ่จบ การศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพหลักคือการทางการเกษตร (ทำนาเป็นหลัก) มีรายได้ตั้งแต่ต่ำกว่า
100,000 บาท สูงสุดอยู่ที่ไม่เกิน 400,000 บาทต่อปี ปกติกลุ่มดังกล่าวมีสมาชิกทั้งหมด 40 ราย แต่ที่
สมัครใจเข้าร่วมในโครงการในครั้งนี้มีจำนวนเกษตรกรต้นแบบทั้งหมด 16 ราย หลังจากอบรมในโครงการ
ดังกล่าวพบว่า เกษตรกรสามารถเพาะพันธุ์กบสำเร็จด้วยการฉีดฮอร์โมนได้ร้อยละ 68.75
และมีกลุ่มเกษตรกรที่ไม่สามารถเพาะพันธุ์กบได้เองตามวิธีการที่ให้มีอยู่ร้อยละ 31.25 โดยเกษตรกรดังกล่าว
สามารถผลผลิตลูกกบทั้งที่มีไว้จำหน่ายและเก็บไว้สำหรับทำพ่อแม่พันธุ์ต่อไป
และส่วนใหญ่แล้วจะมีรายได้ที่เกิดจากการขายลูกพันธุ์กบตลอดการทำโครงการอยู่ในช่วงเฉลี่ยส่วนใหญ่ตั้งแต่ 1,000-
10,000 บาท โดยเกษตรกรที่มีรายได้จากการขายกบมากที่สุดอยู่ประมาณ 20,000 บาท ซึ่งจากการติดตามผล
ดังกล่าวทางทีมผู้วิจัยจึงได้ทำการคัดเลือกผู้นำต้นแบบ คือ นางไมตรี อรรถวิจิตร และนางสาวนพรัตน์ คำสีทา
ซึ่งผู้นำเกษตรกรต้นแบบทั้ง 2 จะเป็นผู้ที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์กบและการจัดการเรื่อง
การใช้จุลินทรีย์ในการช่วยบำบัดน้ำ ให้กับกลุ่มสมาชิกรายอื่นๆ และชุมชนใกล้เคียงต่อไป โดยผลจากการ
เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเศรษฐกิจพอเพียง สามารถสร้าง
รายได้จากอาชีพเสริมการเพาะเลี้ยงกบ และมีแนวโน้มที่จะสามารถพัฒนาต่อเป็นอาชีพหลักได้ในอนาคต

Comments are closed.
Translate »