โครงการนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกบตามหลักปฏิบัติที่ดีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ภายใต้โครงการบริการวิชาการแบบบูรณาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

โดย  ผศ.ดร.วิภาวี ไทเมืองพล และคณะ

ระยะเวลาดำเนินโครงการ: 1 ธันวาคม 2564 – 30 กันยายน 2565

กลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ดำเนินการ: เกษตรกรผู้เลี้ยงกบ ต.หนองบัวแก้ว อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม

SDGs เป้าหมายที่ 14: อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Life Below Water)

หัวข้อย่อย 14.2 Supporting aquatic ecosystems through education : สนับสนุนระบบนิเวศทางน้ำผ่านการศึกษา
ตัวชี้วัด 14.2.2
  Sustainable fisheries (community outreach): Offer educational programme or outreach for local or national communities on sustainable management of fisheries, aquaculture and tourism

การทำประมงอย่างยั่งยืน (เผยแพร่สู่ชุมชน): ให้การศึกษา/ความรู้/การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการจัดการการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แก่ชุมชนระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ

หัวข้อย่อย  14.5  Maintaining a local ecosystem

ตัวชี้วัด 14.5.3  Programs towards good aquatic stewardship practices: Develop and support programs and incentives that encourage and maintain good aquatic stewardship practices

โครงการ/แนวปฏิบัติที่ดีในการดูแลสัตว์น้ำ : มีการพัฒนาและให้การสนับสนุนโปรแกรมและสิ่งจูงใจที่ส่งเสริมและรักษาแนวปฏิบัติที่ดีในการดูแลสัตว์น้ำ

โครงการนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกบตามหลักปฏิบัติที่ดีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลการใช้ชุดเพาะฟักกบแบบเคลื่อนที่ เพื่อพัฒนาและสร้างฟาร์มเกษตรกรต้นแบบที่ได้มาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (GAP) และเพื่อพัฒนา และสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลูกอ๊อดกบ จากการดำเนินงาน พบว่า แต่เกษตรกรมีความต้องการชุดเพาะฟักทางผู้ดำเนินโครงการจึงตัดสินใจจัดทำชุดเพาะฟักให้แก่เกษตรกรจำนวน 10 ชุด เพื่อให้เกษตรกรไปใช้เป็นต้นแบบแก่เกษตรกรรายอื่น อีกทั้งยังจัดทำอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียอย่างง่าย จำนวน 10 ชุด เพื่อนำไปใช้ประกอบกับชุดเพาะฟักกบโดยจะช่วยให้น้ำที่ใช้มีคุณภาพดีขึ้นซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการรอดให้แก่ลูกอ๊อดกบ นอกจากนั้นในการดำเนินงานครั้งนี้ผู้ดำเนินโครงการได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องหลักการเพาะกบตามหลักมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรเพะเลี้ยงกบตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง และได้นำทีมเกษตรกรไปศึกษาดูงานแหล่งแปรรูปลูกอ๊อด ณ เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ลูกอ๊อดบ้านหนองแต้ หมู่ที่ 7 ตำบลนาขาม อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม อีกทั้งยังได้อบรมวิธีการแปรรูปลูกอ๊อดที่ถูกวิธี

Innovative Frog Farming Project in Accordance with Best Aquaculture Practices under the Sustainable Community Engagement Program for Sustainable Development

This project aims to expand the utilization of mobile frog spawn breeding kits to develop and establish model agricultural farms adhering to Good Aquaculture Practices (GAP). Additionally, the project intends to create value-added products from frog offspring. Through careful planning and implementation, this initiative addresses the needs of farmers, providing them with breeding kits and water treatment equipment, thereby improving water quality and enhancing froglet survival rates. Furthermore, the project facilitates knowledge transfer to encourage proper frog farming practices and promotes product diversification. In this endeavor, the project team visited a model frog offspring processing facility in Nakhon Phanom province, Thailand, to gain insights into best practices.

Comments are closed.
Translate »